PEARL DENTAL CLINIC

การสึกของครอบฟันบนรากเทียม สังเกตและป้องกันอย่างไร

การสึกของครอบฟันบนรากเทียม สังเกตและป้องกันอย่างไร

สำหรับผู้ที่มีปัญหาฟันผุ ฟันแตก หรือฟันบิ่นที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการอุดฟัน หรือผู้ที่สูญเสียฟันไปแล้ว รากเทียม (Dental Implant) ถือเป็นหนึ่งในวิธีบูรณะฟันที่ได้รับความนิยม เนื่องจากให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติที่สุด โดยทันตแพทย์จะฝังรากเทียมลงในกระดูกขากรรไกร จากนั้นใส่ครอบฟันเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป วิธีนี้ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคี้ยวอาหารและใช้ชีวิตได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตาม วัสดุที่ใช้ทำครอบฟันมีโอกาสสึกหรือเสียหายตามอายุการใช้งาน รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ทำรากฟันเทียม วันนี้ Pearl Dental Clinic Chiang Mai จะมาแนะนำวิธีการสังเกตว่าครอบฟันบนรากเทียมเริ่มสึกหรือไม่ และจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร

สารบัญเนื้อหา

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใส่ครอบฟันร่วมกับรากเทียม

ครอบฟัน (Dental Crowns) เป็นวิธีการบูรณะฟันที่สูญเสียไป หรือใช้ปกป้องฟันที่ได้รับความเสียหาย เช่น ฟันแตก หัก บิ่น ฟันผุลึก ฟันสึก และฟันที่ผ่านการรักษารากฟัน จุดประสงค์หลักของการครอบฟันคือช่วยป้องกันไม่ให้ฟันเสียหายเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งเสริมความแข็งแรงให้ฟันสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเคี้ยวอาหารหรือสร้างรอยยิ้มให้สวยงาม

นอกจากการใช้ครอบฟันกับฟันแท้แล้ว ยังสามารถใช้ร่วมกับรากฟันเทียม (Dental Implant) เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยเฉพาะในกรณีที่สูญเสียฟัน 1 ซี่หรือหลายซี่ วิธีนี้เป็นการฝังรากเทียมในกระดูกขากรรไกร จากนั้นจึงติดตั้งครอบฟัน ซึ่งเป็นฟันปลอมชนิดติดแน่น ช่วยให้สามารถใช้งานได้ใกล้เคียงฟันธรรมชาติ ทั้งในด้านความแข็งแรงและความสวยงาม

การทดแทนฟันที่สูญเสียไป ด้วยการใส่รากเทียมและครอบฟัน

Dental Implant เป็นวิธีการทดแทนฟันที่สูญเสียไปอย่างเป็นธรรมชาติ โดยมีองค์ประกอบหลักส่วนที่ทำงานร่วมกัน ดังนี้

1.รากฟันเทียม (Dental Implant)

รากเทียมทำจากโลหะผสมไทเทเนียม มีลักษณะคล้ายสกรูหรือน็อต ถูกฝังลงในกระดูกขากรรไกรบริเวณที่ฟันหลุดไป ทำหน้าที่เป็นฐานรองรับฟันใหม่และช่วยให้ยึดติดแน่นกับกระดูกและเหงือก เสริมความแข็งแรงให้สามารถใช้งานได้ในระยะยาว

2.ครอบฟัน (Dental Crown)

ครอบฟันเป็นวัสดุที่ใช้คลุมฟันแท้เพื่อปกปิดรอยร้าวหรือความเสียหายของฟัน แต่ในกรณีที่ใช้ร่วมกับรากเทียม ครอบฟันจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของฟันธรรมชาติ ถูกออกแบบให้มีขนาดและเฉดสีที่ใกล้เคียงกับฟันจริงมากที่สุด เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีแก้ไขปัญหาครอบฟันหลุด แตก บิ่น หรือหัก

เมื่อใช้งานครอบฟันหรือรากฟันเทียมเป็นระยะเวลาหนึ่ง อาจเกิดปัญหาครอบฟันหลุด แตก บิ่น หรือเสียหายตามการใช้งาน หากพบปัญหาดังกล่าว ควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อประเมินและเลือกแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนครอบฟันใหม่ ขึ้นอยู่กับระดับความเสียหายของแต่ละกรณี

1.ครอบฟันหลุด

หากครอบฟันหลุด ควรรีบพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด พร้อมนำครอบฟันเดิมไปด้วยเพื่อให้แพทย์ประเมินว่าสามารถติดตั้งกลับได้หรือไม่ โดยทันตแพทย์จะทำการตรวจสอบและเอกซเรย์ฟัน หากครอบฟันไม่ได้รับความเสียหายรุนแรง อาจสามารถติดตั้งกลับเข้าที่เดิมได้ 

แต่หากมีความเสียหายบางส่วน อาจต้องใช้คอมโพสิตเรซิน (วัสดุอุดสีเหมือนฟัน) เชื่อมซ่อมแซม อย่างไรก็ตาม หากครอบฟันชำรุดมากจนไม่สามารถแก้ไขได้ จำเป็นต้องทำชิ้นใหม่

2.ครอบฟันแตก

ในกรณีที่ครอบฟันมีรอยแตกร้าวเพียงเล็กน้อย อาจสามารถซ่อมแซมได้ด้วยคอมโพสิตเรซินเช่นเดียวกัน แต่หากครอบฟันแตกร้าวเป็นรอยใหญ่ หรือเสียหายมากจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ จำเป็นต้องเปลี่ยนครอบฟันใหม่เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

3.ฟันบิ่น ฟันหัก ฟันแตก

หากพบว่าครอบฟันมีการบิ่นบางส่วน ทันตแพทย์อาจใช้วัสดุอุดฟันเพื่อปิดรอยบิ่นหรือรอยแตกเล็ก ๆ ได้ทันที อย่างไรก็ตาม หากฟันหักหรือบิ่นมากจนส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของฟัน หรือในผู้สูงอายุที่มีภาวะฟันเปราะ ทันตแพทย์จะพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายกรณี และหากการซ่อมแซมไม่สามารถแก้ปัญหาได้ การทำครอบฟันใหม่จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

ประโยชน์ของการทำครอบฟันบนรากเทียม

การทำครอบฟันร่วมกับ Dental Implant ไม่เพียงช่วยทดแทนฟันที่สูญเสียไป แต่ยังมีข้อดีมากมายที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพช่องปากและเพิ่มความมั่นใจในชีวิตประจำวัน

  • บูรณะฟันที่เสียหายหรือฟันผุรุนแรง 
  • คืนความมั่นใจในรอยยิ้มและการพูด
  • ป้องกันและแก้ไขปัญหาฟันสึก
  • รักษาตำแหน่งฟันและการใช้งานตามธรรมชาติ
  • เป็นส่วนสำคัญของรากฟันเทียมและสะพานฟัน
  • ปกป้องฟันที่ไม่แข็งแรง ไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติม

สาเหตุของการสึกของครอบฟันบนรากเทียม

  1. การกัดหรือเคี้ยวอาหารแข็งบ่อยๆ อาหารที่แข็งหรือเหนียว เช่น น้ำแข็ง กระดูกอ่อน หรือขนมขบเคี้ยวที่กรอบมาก อาจทำให้ครอบฟันเกิดแรงกดทับสูง ส่งผลให้เกิดการสึกหรือรอยแตกร้าวได้
  2. พฤติกรรมการกัดฟัน ขณะนอนหลับ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ครอบฟันบนรากเทียมสึกเร็วกว่าปกติ หากไม่ได้รับการแก้ไข อาจส่งผลต่ออายุการใช้งานของรากฟันเทียมด้วย
  3. อายุการใช้งานของวัสดุครอบฟัน แม้ว่าวัสดุครอบฟัน เช่น เซรามิกหรือพอร์ซเลน จะมีความแข็งแรงสูง แต่เมื่อใช้งานไปนานๆ ก็มีโอกาสเกิดการสึกหรอตามธรรมชาติ
  4. การดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่เหมาะสม หากไม่รักษาความสะอาดของช่องปากอย่างถูกต้อง ครอบฟันอาจสะสมคราบแบคทีเรีย ทำให้เกิดการกัดกร่อนหรือสูญเสียโครงสร้างของวัสดุได้
  5. ปัญหาการสบฟันผิดปกติ หากการสบฟันมีความผิดปกติ เช่น ฟันสบลึกหรือฟันสบคร่อม อาจทำให้เกิดแรงกดที่ไม่สมดุลต่อครอบฟัน ส่งผลให้เกิดการสึกได้เร็วกว่าปกติ

อาการที่บ่งบอกว่าครอบฟันเริ่มสึกหรือเสียหาย

  • ครอบฟันมีรอยแตกหรือรอยร้าวเล็กๆ
  • มีอาการเสียวฟันหรือเจ็บเมื่อเคี้ยวอาหาร
  • ครอบฟันเริ่มหลวม หรือมีอาการโยก
  • มีเศษอาหารติดง่ายขึ้นบริเวณครอบฟัน

Pearl Dental Clinic Chiang Mai – คลินิกทันตกรรมที่เชี่ยวชาญด้านรากฟันเทียม

Pearl Dental Clinic Chiang Mai ให้บริการฝัง รากเทียม และทำครอบฟันโดยทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสูง เรามุ่งเน้นให้ผู้รับบริการได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ผ่านเทคโนโลยีและวัสดุคุณภาพสูงในการทำรากฟันเทียม นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการดูแลหลังทำรากเทียม โดยให้คำแนะนำที่ช่วยให้ผู้รับบริการสามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้รากเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานที่สุด

เราสามารถดูแลครอบฟันบนรากเทียมให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เพียงหลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวอาหารที่มีเนื้อสัมผัสแข็ง ดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธีเป็นประจำ รวมถึงเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ หากพบปัญหาการสึกหรอหรือความผิดปกติของครอบฟัน ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับการดูแลที่เหมาะสม

สำหรับผู้ที่ต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการทำรากฟันเทียมและครอบฟัน Pearl Dental Clinic Chiang Mai พร้อมให้บริการโดยทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับคุณ

Facebook
Twitter
Email
X

บทความล่าสุด

นัดเพื่อปรึกษาทันตแพทย์

เปิดบริการทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์
เวลาทำการ 9.30 – 20.00 น.

ที่อยู่ : 316  โครงการ J Space ตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 

แผนที่ : Pearl Dental Clinic