PEARL DENTAL CLINIC

รากเทียมในผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมอย่างไรให้ปลอดภัย

รากเทียม ในผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมอย่างไรให้ปลอดภัย

อย่างที่ทราบกันดีว่าการฝังรากเทียม (Dental Implant) เป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมในการแก้ปัญหาการสูญเสียฟันธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเฉพาะซี่หรือทั้งปาก ด้วยวัสดุที่มีสีเหมือนฟันจริง แข็งแรง ทนทาน และใช้งานได้ยาวนาน สามารถเลือกได้ทั้งแบบฟันปลอมติดแน่นหรือถอดได้ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดฝังรากฟันเทียมไม่ได้เหมาะกับทุกคน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งอาจส่งผลต่อกระบวนการรักษาและเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงต่าง ๆ วันนี้ Pearl Dental Clinic Chiang Mai จึงจะมานำเสนอข้อมูลกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เพื่อให้การรักษาปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ที่ดีสูงสุด พร้อมแนะนำโซลูชันอื่น ๆ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้

สารบัญเนื้อหา

โรคประจำตัวแบบไหนที่อาจเสี่ยงต่อการทำรากเทียม

หากสังเกตจะเห็นว่า ก่อนเข้ารับการรักษาหรือทำทันตกรรมใด ๆ มักจะมีการซักถามประวัติสุขภาพ เช่น โรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา รวมถึงการวัดความดันโลหิต วัดไข้ และประเมินสภาพร่างกายโดยรวม 

ทั้งนี้เพื่อประเมินความเสี่ยงและความปลอดภัยในการรักษา แม้ว่าการฝังรากเทียม (Dental Implant) จะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะในกลุ่มรากฟันเทียมแบบติดแน่น แต่สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวบางประเภท อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้ผลลัพธ์การรักษาไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง และอาจกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้

1.ผู้ป่วยเบาหวานระดับไหนที่ไม่ควรทำรากเทียม

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและไม่สามารถควบคุมได้อย่างเหมาะสม ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการฝังรากเทียม (Dental Implant) เนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการสมานแผล ทำให้แผลหายช้า และเพิ่มความเสี่ยงต่อการอักเสบและติดเชื้อ แม้ว่าการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมจะเป็นการผ่าตัดขนาดเล็ก แต่สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ก็อาจทำให้การรักษาไม่ปลอดภัยและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง

2.ทำไมผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ฉายแสงบริเวณใบหน้า ถึงควรหลีกเลี่ยงการทำรากเทียม

ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องเข้ารับการฉายแสงบริเวณใบหน้า ศีรษะ หรือคอ จัดเป็นกลุ่มที่ไม่ควรทำรากเทียม เนื่องจากการฉายแสงอาจทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้น กระพุ้งแก้ม และที่สำคัญยังส่งผลกระทบต่อกระดูกขากรรไกร ทำให้เกิดภาวะเซลล์กระดูกน้อย ซึ่งหมายถึงกระดูกตายจากการขาดเลือด ส่งผลให้กระดูกไม่สามารถรับรากเทียมได้อย่างเหมาะสม นอกจากผลลัพธ์อาจไม่เป็นที่น่าพึงพอใจแล้ว ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและอันตรายต่อสุขภาพผู้ป่วยอีกด้วย

3.ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ทำรากเทียมได้หรือไม่

ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ไม่เหมาะกับการทำรากเทียม เนื่องจากโรคนี้ส่งผลให้กระดูกมีความเปราะบางและไม่แข็งแรง ซึ่งขัดแย้งกับกระบวนการฝังรากฟันเทียมที่ต้องยึดรากเทียมเข้ากับกระดูกขากรรไกรอย่างมั่นคง ความเปราะบางของกระดูกอาจทำให้กระดูกขากรรไกรแตกหักได้ง่าย และเพิ่มความเสี่ยงที่รากฟันเทียมจะไม่ยึดติดกับกระดูก หรืออาจหลุดออกมาในที่สุด ทำให้มีอัตราความล้มเหลวในการรักษาสูง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว

4.ผู้ป่วยโรคหัวใจ ทำรากเทียมได้หรือไม่

การทำรากเทียมสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากทั้งทันตแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ ผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือผู้ที่ต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจำ อาจมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างและหลังการผ่าตัด เช่น เลือดออกง่าย การหายของแผลช้า และอาจเกิดการติดเชื้อได้

ก่อนการทำรากฟันเทียม (Dental Implant) ผู้ป่วยโรคหัวใจควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจประเมินความพร้อมของร่างกาย และอาจต้องปรับการใช้ยาบางชนิดชั่วคราว รวมถึงเตรียมแผนการรักษาร่วมกันระหว่างแพทย์ทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ ควรเลือกคลินิกทันตกรรมที่มีความเชี่ยวชาญ มีอุปกรณ์พร้อม และมีทีมทันตแพทย์ที่เข้าใจในกระบวนการดูแลผู้ป่วยเฉพาะทาง เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

ใครบ้างที่ควรเลื่อนการทำรากฟันเทียม (Dental Implant) ออกไปก่อน

นอกเหนือจากกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่กล่าวมาแล้ว ทันตแพทย์จาก Pearl Dental Clinic Chiang Mai ยังแนะนำให้เลื่อนแผนการฝังรากเทียมออกไปก่อนในบางกรณี เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุด ดังนี้

  1. หญิงตั้งครรภ์: ควรรอให้คลอดบุตรก่อนจึงค่อยเข้ารับการฝังรากเทียม เนื่องจากการผ่าตัดและการใช้ยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์
  2. ผู้ป่วยที่ควบคุมโรคประจำตัวไม่ได้: เช่น ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง โรคลูคิเมีย หรือโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ เนื่องจากร่างกายอาจตอบสนองต่อการรักษาได้ไม่ดี และมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะแทรกซ้อน
  3. ผู้ที่มีภาวะที่อาจกระทบต่อผลการรักษา: เช่น ผู้ป่วยที่รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ หรือผู้ป่วยที่มีอาการไขข้ออักเสบรุนแรง กลุ่มเหล่านี้อาจทำให้การยึดติดของรากเทียมกับกระดูกขากรรไกรไม่ดีเท่าที่ควร
  4. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหยุดไหลของเลือด: เช่น ผู้ที่รับยาละลายลิ่มเลือดหรือมีภาวะเลือดออกง่าย เนื่องจากการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกมากและอาจควบคุมได้ยาก

การฝังรากเทียม (Dental Implant) แม้จะเป็นวิธีการทดแทนฟันที่มีประสิทธิภาพสูง แข็งแรง และให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงฟันธรรมชาติ แต่ก็ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหรืออยู่ในภาวะเสี่ยง ดังนั้น จะเห็นว่าการเตรียมตัวอย่างเหมาะสมและการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียดก่อนการรักษาจะช่วยให้การฝังรากเทียมปลอดภัยและมีผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

Pearl Dental Clinic Chiang Mai เรามีทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลผู้ป่วยทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่มีโรคประจำตัว ด้วยการประเมินสุขภาพอย่างละเอียด และการให้คำแนะนำอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการรักษาจะปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ หากคุณหรือคนใกล้ชิดกำลังมองหาคำตอบเกี่ยวกับการทำ รากเทียม สามารถนัดหมายเพื่อรับคำปรึกษาที่คลินิก โทร 094 615 0009 เพราะสุขภาพช่องปากที่ดีเริ่มต้นได้จากการดูแลที่ใส่ใจในทุกรายละเอียด

Facebook
Twitter
Email
X

บทความล่าสุด

นัดเพื่อปรึกษาทันตแพทย์

เปิดบริการทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์
เวลาทำการ 9.30 – 20.00 น.

ที่อยู่ : 316  โครงการ J Space ตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 

แผนที่ : Pearl Dental Clinic