PEARL DENTAL CLINIC

การปลูกกระดูกฟันก่อนทำรากฟันเทียม จำเป็นหรือไม่

การปลูกกระดูกฟันก่อนทำรากฟันเทียม จำเป็นหรือไม่

หลายคนคงรู้จักการทำรากฟันเทียม หรือ Dental Implant ซึ่งเป็นวิธีการฟื้นฟูฟันด้วยวัสดุทดแทนเพื่อให้ฟันกลับมาใช้งานได้เหมือนฟันธรรมชาติ แต่มีเพียงไม่กี่คนที่ทราบว่าการปลูกกระดูกฟัน ก็เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในบางกรณีที่ต้องทำก่อนฝังรากเทียม เนื่องจากสภาพความแข็งแรงของกระดูกฟันในแต่ละคนแตกต่างกัน หากปล่อยให้สูญเสียฟันไปนาน กระดูกอาจละลายหรือบางจนไม่สามารถรองรับรากฟันเทียมได้ การปลูกกระดูกจึงเป็นวิธีเสริมกระดูกเพื่อให้แข็งแรงเพียงพอก่อนการฝังรากฟันเทียม

ในบทความนี้ Pearl Dental Clinic เราจะมาอธิบายว่าการปลูกกระดูกฟันคืออะไร ใครจำเป็นต้องทำ ขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการนี้ วิธีดูแลตัวเองหลังการปลูกกระดูกและฝังรากเทียม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนทำรากฟันเทียม

สารบัญเนื้อหา

การปลูกกระดูกฟันเพื่อรองรับการฝังรากฟันเทียมคืออะไร?

การปลูกกระดูกฟัน (Bone Grafting) เป็นกระบวนการเสริมสร้างหรือซ่อมแซมกระดูกบริเวณขากรรไกรที่ไม่เพียงพอ อ่อนแอ ให้มีความหนาแน่นและแข็งแรงพอที่จะรองรับรากฟันเทียม (Dental Implant) ได้อย่างมั่นคง ซึ่งปกติแล้วกระดูกฟันมีโอกาสลายได้ตามวัยที่มากขึ้น หรือในกรณีอื่น เช่น การถอนฟัน การสูญเสียฟันที่ปล่อยระยะเวลานานจนก็ทำให้กระดูกละลายได้ แพทย์จะทำการรักษาด้วยการใช้วัสดุเสริมกระดูก ซึ่งอาจมาจากกระดูกของผู้ป่วยเองหรือใช้วัสดุสังเคราะห์ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะ เพื่อการรักษาที่สอดคล้องกับปัญหาฟันของผู้ป่วย

ฝังรากฟันเทียมต้องปลูกกระดูกฟันก่อนจริงหรือไม่

สำหรับผู้ที่มีกระดูกขากรรไกรแข็งแรงและไม่มีปัญหากระดูกละลาย สามารถเตรียมตัวสำหรับการฝังรากฟันเทียมได้ทันที แต่สำหรับกรณีที่กระดูกขากรรไกรเสื่อมหรือบางลงจากสาเหตุต่าง ๆ การปลูกกระดูกฟันจะช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกในบริเวณดังกล่าว เพื่อให้สามารถรองรับรากฟันเทียมได้อย่างมั่นคง เนื่องจากการฝังรากฟันเทียมจำเป็นต้องอาศัยการยึดแน่นระหว่างกระดูกขากรรไกร เหงือก และฟัน หากกระดูกขากรรไกรบางหรือไม่แข็งแรงพอ อาจส่งผลให้การรักษาล้มเหลวได้ในภายหลัง

วัสดุที่ใช้ในการปลูกกระดูกฟันสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทหลัก ได้แก่

  1. กระดูกของผู้ป่วยเอง (Autografts) เป็นกระดูกที่เก็บจากร่างกายของผู้ป่วย เช่น กระดูกบริเวณขากรรไกร ฟันคุด หรือคาง ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากมีโอกาสที่ร่างกายจะต่อต้านน้อยมาก และสามารถใช้ได้ทั้งในรูปแบบชิ้นหรือแบบผง
  2. กระดูกจากผู้บริจาค (Allografts) กระดูกประเภทนี้มาจากผู้บริจาคอวัยวะ แม้จะสะดวกในการใช้งาน แต่มีความเสี่ยงสูงที่ร่างกายของผู้ป่วยจะต่อต้าน
  3. กระดูกจากสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น (Xenografts) วัสดุปลูกกระดูกชนิดนี้มาจากสัตว์ โดยผ่านกระบวนการทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างเข้มงวด แม้จะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่มีข้อดีคือละลายช้าและใช้งานได้นาน
  4. วัสดุสังเคราะห์ (Alloplast) ทำจากวัสดุสังเคราะห์ เช่น แคลเซียม เซรามิก หรือฟอสเฟต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ได้รับความนิยม เพราะสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการและมีความปลอดภัยสูง

การปลูกกระดูกฟันก่อนทำ Dental Implant เหมาะกับใคร?

การปลูกกระดูกฟันไม่ได้จำเป็นสำหรับผู้ป่วยทุกคนที่ต้องการฝังรากเทียม แต่ในบางกรณีอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น

  1. ผู้ที่สูญเสียฟันมาเป็นเวลานาน
    เมื่อฟันหลุดหรือถอนฟันออกไปเป็นระยะเวลานาน กระดูกขากรรไกรในบริเวณนั้น ๆ มีโอกาสละลายสูง ไม่สามารถรองรับรากเทียมได้ 
  2. กระดูกบางหรือไม่แข็งแรงเพียงพอ
    โครงสร้างกระดูกของผู้ป่วยบางรายอาจไม่รองรับการยึดรากเทียมได้
  3. กรณีมีโรคเหงือกอักเสบเรื้อรัง
    โรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบอาจทำให้กระดูกบริเวณรอบ ๆ ฟันเสื่อมสภาพ
  4. เกิดอุบัติเหตุหรือมีประวัติการผ่าตัด
    ผู้ป่วยที่เคยประสบอุบัติเหตุหรือผ่านการผ่าตัดขากรรไกร อาจมีปริมาณกระดูกที่ไม่เพียงพอ

ขั้นตอนการดูแลตัวเองหลังปลูกกระดูกฟัน

  1. ระวังการกระทบกระเทือนในช่วง 24 ชม.
    หลังการปลูกกระดูกฟัน ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจกระทบช่องปาก รวมถึงเลือกรับประทานอาหารอ่อนหรือเหลว เช่น โจ๊ก และงดใช้หลอดดูดจนกว่าแผลจะสมานตัวดี
  2. การทำความสะอาดช่องปาก
    สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ ยกเว้นบริเวณที่มีแผลผ่าตัด และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาบ้วนปากทุกประเภทในช่วงแรก เพื่อป้องกันการระคายเคือง
  3. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่
    ห้ามดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่ เพราะอาจทำให้แผลหายช้าหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดไหลไม่หยุด และประสิทธิภาพในการผสานของกระดูกช้าลง
  4. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้แรงมาก
    งดการออกกำลังกายหนักในช่วง 1-3 วันแรก เพื่อให้แผลสมานตัวได้ดีขึ้น
  5. การใช้ยาและติดตามอาการ
    แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะสำหรับรับประทานต่อเนื่อง 7-14 วัน พร้อมนัดติดตามผลหลังผ่าตัด หากพบอาการผิดปกติ เช่น เลือดออกมาก บวมผิดปกติ มีไข้ หรือหายใจลำบาก ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
  6. ระยะเวลาการฟื้นตัว
    กระบวนการปลูกกระดูกฟันอาจใช้เวลา 3-6 เดือน หรือมากกว่านั้น เพื่อให้กระดูกใหม่ผสานเข้ากับกระดูกเดิมได้สมบูรณ์ เมื่อแพทย์ประเมินว่าพร้อมแล้ว จึงจะนัดหมายขั้นตอนการฝังรากฟันเทียมต่อไป

การปลูกกระดูกฟันเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับผู้ที่กระดูกขากรรไกรไม่แข็งแรงหรือไม่เพียงพอในการรองรับ รากฟัน Dental Implant ช่วยเสริมความมั่นคงและเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาในระยะยาว แม้จะต้องใช้เวลาและการดูแลอย่างเคร่งครัด แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือรอยยิ้มที่มั่นใจและฟันที่ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด

Facebook
Twitter
Email
X

บทความล่าสุด

นัดเพื่อปรึกษาทันตแพทย์

เปิดบริการทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์
เวลาทำการ 9.30 – 20.00 น.

ที่อยู่ : 316  โครงการ J Space ตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 

แผนที่ : Pearl Dental Clinic